วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์

Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) : ส่วนประกอบสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ถูกขนาดนามว่าเป็นคลังหรือแล่งจัดเก็บข้อมูลของระบบกระทั่งปัจจุบันเริ่มมีการดัดแปลงไปสู่ อุสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics : CE) มากขึ้น ด้วยความโดดเด่นในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ บนปริมาณพื้นที่อันอลังการมากขึ้นทุกวัน ทำให้อุตสาหกรรม Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดรฟ์ไม่ได้หยุดอยู่กับที่บนตลาดคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
สำหรับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ถูกจัดเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัปเกรด เพราะสเป็คที่ผู้บริโภคดูส่วนใหญ่เน้นเพียงไม่กี่ตัวอาทิ ความจุ ความเร็วรอบ ขนาดหน่วยความจำแคช ซึ่งมันอาจเป็นคำตอบที่ไม่ถูกต้องนักต่อการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในปัจจุบันและอนาคต เพราะเทคโนโลยี Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานับว่าพัฒนาได้รวดเร็วเอามากๆ ฉะนั้นการเลือกซื้อควรมองให้กว้างขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพการทำงานที่ท่านจะได้รับจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไปเต็มๆ
ส่วนประกอบของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์)
Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) จะประกอบไปด้วย จานแม่เหล็กหรือจานดิสก์ (Platter) ซึ่งออกแบบมาสำหรับบันทึกข้อมูลโดยขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมในการออกแบบด้วยว่าได้มีการ กำหนดให้มีขนาดความจุต่อแผ่นเท่าใด และใน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แต่ละรุ่นจำต้องใช้จำนวนแผ่นเท่าใด ซึ่งจานแม่เหล็กมีลักษณะเป็นทรงกลมและมีมอเตอร์สำหรับควบคุมการหมุนของจานดิสก์ (Spindle)โดยอัตราความเร็วในการหมุน ณ วันนี้ถูกจัดหมวดออกเป็น 5400,7200 และ 10,000 รอบต่อนาที(rpm) ซึ่งถ้าจำนวนรอบในการหมุนของจาน ดิสก์มีระดับความถี่ที่สูง ก็จะส่งผลให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นตามไปด้วย



       ในส่วนของลักษณะการอ่านเขียนข้อมูลภายในไดรฟ์นั้น จะมีสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยนั้นก็คือหัวอ่านเขียน (Read/Write Head) โดยหัวอ่านเขียนจะมี จำนวนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนจานดิสก์ด้วย สำหรับหัวอ่านเขียนข้อมูลนั้นเป็นอุปกรณ์ที่จะเคลื่อนที่ไปบนจานดิสก์ โดยจะเว้นระยะห่างระหว่าง หัวอ่านเขียนกับจานดิสก์อย่างคงที่ ซึ่งหาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้รับการกระทบกระเทือนจนระยะห่างระหว่างหัวอ่านเขียนกับจานดิสก์ผิดเพี้ยนไป จะทำให้ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไม่ สามารถทำงานได้เลย แตปัจจุบัน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) รุ่นใหม่ๆจึงได้มีการออกแบบจุดพักหัวอ่านเขียนไว้ด้านข้างเพื่อกันการทระแทกบนจานดิสก์ นอกจากนี้ ด้านหลังของตัวไดรฟ์ยังประกอบไปด้วย อินเทอร์เฟซ (Interface) ซึ่งเป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อกับส่ายสัญญาณประเภทต่างๆ แบ่งได้ตาม ชนิดของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เช่น Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบติดตั้งภายในมีอินเทอร์เฟซ IDE, SCSI และ Serial ATA และ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบติดตั้งภายนอกมักมีอินเทอร์เฟซแบบ USB และ Firewire ซึ่งทั้งสองแบบนั้นจำต้องมีช่องสำหรับต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟเพื่ออาศัยพลังงานในการหล่อเลี้ยอยู่เสมอด้วย
ชนิดของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบ่งตามการเชื่อมต่อ (อินเทอร์เฟซ)
1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)
Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้สูงสุด 4 ตัว มีความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504MB เท่านั้นเอง
2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์ต่อวินาทีเลยทีเดียว
      จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเทคนิคการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดรฟ์ ที่แม้ไม่ใช้มืออาชีพแต่ก็ได้เรียนรู้ว่าต้องดูอะไรบ้างในการเลือกซื้อทำให้แนวทางในการเลือกซื้อดูสดใสขึ้นครับ ทว่า Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่เลือกซื้อโดยส่วนใหญ่นั้นเป็น OEM จึงไม่ต้องสนใจกับสิ่งที่แถมมามากนัก(เพราะมันไม่มีมาให้นอกจากไดรฟฺ์เปล่าๆ) นอกจากจำชื่อร้านและตัวแทนจำหน่ายที่จำหน่ายสินค้าให้กับเราไว้ให้ดีเท่านั้น เผื่อมีการติดต่อเมื่อมาส่งเคลมหรือเปลี่ยนสินค้าในภายหลังครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น